ประวัติ/ตำนาน ทิวทัศน์/ธรรมชาติ ภาพนักท่องเที่ยว ภาพดอกบัวแดง/บัวขาว สัตว์/พืชในทะเลบัวแดง พระธาตุบ้านเดียม/แผนที่ สำนักสงฆ์ กิจกรรมต่างๆ

ทะเลบัวแดง หนองหานกุมภวาปี 

ทะเลบัวแดง หนองหานกุมภวาปี

ความเป็นมาของแหล่งท่องเที่ยวทะเลบัวแดง

จังหวัดอุดรธานีมีแหล่งน้ำธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุด คือ หนองหาน มีพื้นที่ประมาณ ๒๒,๕๐๐ ไร่ หรือ ๓๖ ตารางกิโลเมตร มีความยาวของคันดินรอบหนองหาน
ยาวถึง ๘๐ กิโลเมตร อยู่ในเขตอำเภอกุมภวาปีเป็นส่วนใหญ่ และบางส่วนอยู่ในเขตอำเภอประจักษ์ศิลปาคม และอำเภอกู่แก้ว เป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและการอุปโภค
บริโภคของชาวบ้านที่อาศัยอยู่โดยรอบหนองหาน จนได้รับการประกาศให้เป็นพื้นที่ ชุ่มน้ำที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย

หนองหาน นอกจากจะเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ปลา พันธุ์นก และพืชน้ำ จำนวนมาก ซึ่งชาวบ้านที่อาศัยอยู่โดยรอบหนองหานได้พึ่งพาเป็นแหล่งอาหารแล้วนั้น ยังมีระบบนิเวศน์ที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งเป็นที่สนใจของนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยทั้งในประเทศและต่างประเทศได้มาศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้แล้ว ธรรมชาติของหนองหาน ยังได้บรรจงสร้างทะเลบัวแดงเพิ่มความงดงามให้แก่หนองหานมากยิ่งขึ้น กล่าวคือ ในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนมีนาคมของทุกปี ดอกบัวแดงในหนองหานซึ่งมีจำนวนมากจะงอกงามโผล่จากน้ำขึ้นมา โดยเริ่มจากเดือนตุลาคมบัวเริ่มแตกใบและเริ่มออกดอกตูมและบานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ บัวจะออกดอกมีปริมาณมากที่สุดในช่วงเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ และค่อย ๆ ลดปริมาณลงในเดือนมีนาคม ดอกบัวจะบานในช่วงเช้าตรู่จนถึงเวลาประมาณ ๑๑.๐๐ น. นักท่องเที่ยวจะมองเห็นดอกบัวแดงบานเต็มท้องน้ำหนองหานสุดลูกหูลูกตางดงามอย่างหาที่เปรียบไม่ได้ จึงเป็นที่มาของคำว่าทะเลบัวแดง


-๒-


ตำนานรักพญานาค:เมืองล่มจมบาดาลที่หนองหาน

มีหมู่บ้านที่อยู่ติดริมหนองหานและอยู่ในอาณาบริเวณรวมแล้วประมาณ ๖๐ หมู่บ้านจึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าหนองหานมีความกว้างใหญ่เพียงใดและมีตำนานเรื่องราวเกี่ยวกับพญานาคที่มีชื่อเสียงว่า ตำนานผาแดงนางไอ่ ซึ่งคนในชุมชนยังมีความเชื่อในตำนานเรื่องนี้สืบต่อกันมายาวนาน
ตำนานโบราณเกี่ยวกับหนองหานที่เล่าขานกันมาตั้งแต่โบราณ กล่าวไว้ว่า นางไอ่เป็นธิดาของพระราชาเมืองขอม ซึ่งมีสิริโฉมงดงาม เป็นที่หมายปองของเจ้าชายเมืองต่าง ๆ มีอยู่ปีหนึ่ง เมืองขอมประสบปัญหาฝนแล้ง เจ้าเมืองขอมจัดการแข่งขันบั้งไฟ และมีการจุดบั้งไฟเพื่อเสี่ยงทายขอฝน และหากบั้งไฟของใครขึ้นสูงที่สุด จะยอมยกธิดา คือนางไอ่คำ ให้เป็นภรรยา มีเจ้าชายจากนครต่าง ๆ เข้าแข่งขัน รวมทั้งท้าวผาแดงแห่งเมืองผาโพง

 

 


ฝ่ายท้าวภังคี โอรสของพญานาค ในนครบาลดาล ทราบข่าว ก็ยกพลพญานาคปลอมตัวเป็นคนเข้ามาเข้าแข่งขันด้วย บั้งไฟของพญานาคภังคีไม่ชนะ แต่เมื่อภังคีได้ยลโฉมนางไอ่คำก็ไม่สามารถจะถอนใจรักได้ จึงปลอมตัวเป็นกระรอกเผือกมาในสวนดอกไม้ของนางไอ่คำ ด้วยเคราะห์แต่ชาติปางก่อน นางไอ่คำเกิดคิดวิปริต ต้องการบริโภคเนื้อกระรอกเผือก จึงสั่งให้นายพรานตามล่ามาปรุงอาหาร และนายพรานก็ยิงกระรอกเผือกได้ ก่อนตายได้อธิษฐานว่า ใครก็ตามที่ได้บริโภคเนื้อของตนจงจมน้ำตายในบาดาล นางไอ่คำได้นำเนื้อกระรอกมาปรุงอาหาร และแจกจ่ายเนื้อกระรอกไปทั้งเมือง ในคืนนั้นเองเกิดพายุฝนแผ่นดินไหว น้ำท่วมพัดพาผู้คนลงสู่หนองหานและท้องบาดาล ท้าวนาคราชบิดาของภังคี โกรธที่โอรสถูกฆ่า จึงพานาคจากเมืองบาดาลมาอาละวาดถล่มเมืองขอมจนสิ้น ส่วนท้าวผาแดง เมื่อเห็นเมืองขอมถล่มได้พานางไอ่คำขึ้นม้าควบหนีไปทางทิศเหนือ หนีน้ำและบรรดาพญานาคที่ตามพ่นไฟไล่หลังมา วิญญาณแค้นของภังคีได้วนเวียนมาทวงความแค้นกับผาแดงนางไอ่ตลอดมาทุกชาติ ๆ


-๓-

บริเวณที่พวกนาคถล่มจมพื้นบาดาล ได้กลายเป็นหนองหาน ณ ปัจจุบัน อยู่ในจังหวัดอุดรธานี
เป็นต้นลำน้ำปาว มีเกาะต่าง ๆ ที่เหลือจากการล่ม คือ เกาะเกษ ดอนสวน ดอนเตา ดอนดินจี่ ดอนแอ่น และดอนหลวง มีสถานที่เป็นทางผ่านของผาแดง นางไอ่ เช่น ห้วยพ่นไฟ ห้วยสามพาด ห้วยน้ำฆ้องห้วยกองสี ฯลฯ
ประชาชนรอบ ๆ หนองหาน ได้สร้างเจดีย์ วัด และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เพื่อเป็นที่สิงสถิตของวิญญาณ
ผู้ที่ประสบเคราะห์กรรมจมน้ำตายในครั้งนี้ ได้แก่ พระธาตุเชียงแก้ว พระธาตุดอยหลวง พระธาตุบ้านเดียมพระธาตุจอมศรี พระมหาธาตุเจดีย์(พระธาตุดอนแก้ว) ศาลท้าวผาแดง เป็นต้น
สืบสานวัฒนธรรมและส่งเสริมการท่องเที่ยว

จากจุดเด่นของหนองหานและตำนานเก่าแก่ได้หล่อหลอมเป็นวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของชาวบ้านรอบหนองหานให้เกิดความหวงแหนอนุรักษ์ และพึ่งพาธรรมชาติจากหนองหานได้อย่างสมดุล และยั่งยืนมาจวบเท่าทุกวันนี้
อำเภอกุมภวาปี ร่วมกับเทศบาลตำบลเชียงแหว โดยได้รับการสนับสนุนจากจังหวัดอุดรธานี และองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี จึงได้จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ทะเลบัวแดง หนองหานกุมภวาปี โดยมีกิจกรรมที่สำคัญ ดังนี้
๑.บริการล่องเรือชมทะเลบัวแดง ตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๔- ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ เวลา ๐๖.๐๐- ๑๑.๐๐ น. ทุกวัน ณ ท่าเรือบ้านเดียม ตำบลเชียงแหว อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี
-เรือบริการขนาดเล็ก นั่งได้ ๒-๓ คน คิดค่าบริการคนละ ๑๐๐ บาท ต่อเที่ยว
-เรือบริการขนาดใหญ่ นั่งได้ ๑๐-๑๒ คน คิดค่าบริการคนละ ๑๐๐ บาท ต่อเที่ยว
หากเป็นหมู่คณะลดราคาพิเศษแต่ไม่ต่ำกว่าลำละ ๕๐๐ บาท ต่อเที่ยว
- ใช้เวลาล่องเรือไม่เกิน ๑ ชั่วโมง ๓๐ นาที
- ห้วงเวลาที่ดอกบัวแดงบาน คือ เวลา ๐๖.๐๐-๑๑.๐๐ น. แต่นักท่องเที่ยวสามารถชมธรรมชาติ
หนองหานและนกนานาพันธุ์ได้ตลอดวัน
- มีบริการที่พักโฮมสเตย์ รุ่งเช้าล่องเรือชมดวงอาทิตย์ขึ้นที่หนองหาน สัมผัสทะเลบัวแดงหมื่นไร่
พร้อมรับประทานอาหารเช้าบนเรือกับบรรยากาศเย็นสบายๆ หนาวนี้
- สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณไพรสิทธิ์ สุขรมย์ โทรศัพท์ ๐๘๙-๓๙๕๐๘๗๑,๐๘๓-๓๔๙๕๖๗๓
๒. การแข่งขันทะเลบัวแดงบาน หนองหานกุมภวาปี ซุปเปอร์มินิมาราธอน ครั้งที่ ๑ วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๔
- การแข่งขันวิ่งซุปเปอร์มินิมาราธอน ระยะทาง ๑๕ กิโลเมตร ค่าสมัครคนละ ๒๐๐ บาท
- เดิน-วิ่ง เพื่อสุขภาพ ระยะทาง ๕ กิโลเมตร ค่าสมัครคนละ ๑๐๐ บาท
- เริ่มการแข่งขันเวลา ๐๖.๐๐ น. ณ จุดเริ่มต้นบ้านเดียม ตำบลเชียงแหว อำเภอกุมภวาปี
จังหวัดอุดรธานี ผ่านเส้นทางที่ท้าทาย และสัมผัสบรรยากาศทะเลบัวแดง หนองหานกุมภวาปีได้อย่างใกล้ชิด
-มีบริการสถานที่กางเต็นท์ ที่พักอาคารโรงเรียน (ไม่มีค่าใช้จ่ายแต่ต้องนำเต็นท์และเครื่องนอนไปเอง)
ที่พักแบบโฮมสเตย์ (เสียค่าใช้จ่าย)
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร ๐๘๑-๗๖๙๖๐๓๑ (คุณอเนก นวลไชยดี)
หรือwww.kumpawahealth.com
๓. งานเทศกาลทะเลบัวแดงบาน หนองหานกุมภวาปี ประจำปี ๒๕๕๕ วันที่ ๑๓-๑๕ มกราคม ๒๕๕๕ รวม ๓ วัน ๒ คืน
ณ วัดบ้านเดียม ตำบลเชียงแหว อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี มีกิจกรรมที่น่าสนใจ ดังนี้
- การแสดงของนักเรียน
- การประกวดวาดภาพและภาพถ่ายทะเลบัวแดง
- การประกวดธิดาบัวแดง
- การประกวดร้องเพลงลูกทุ่งชาย-หญิง
- การประกวดวงดนตรีโปงลางของนักเรียน
- การแข่งขันเต้นแอโรบิก
- การจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน(OTOP)
- เชิญร่วมสักการะพระมหาธาตุเทพจินดา(พระธาตุบ้านเดียม)

-๔-


- สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเทศบาลตำบลเชียงแหว โทร ๐๔๒-๒๓๖๐๒๒,
นายกเทศมนตรีตำบลเชียงแหว ๐๘๑-๘๗๓๑๕๕๑, ปลัดเทศบาลตำบลเชียงแหว ๐๘๖-๒๑๘๘๙๑๖
หรือ www.chaingwae.com


 

 


แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจของอำเภอกุมภวาปี


- พระมหาธาตุเจดีย์ หรือพระธาตุดอนแก้ว นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๓ หรือประมาณพุทธศักราช ๑๑๐๐-๑๓๐๐ตั้งอยู่ในวัดมหาธาตุเจดีย์ บ้านดอนแก้ว หมู่ที่ ๕ ตำบลกุมภวาปี อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี

 
 

 

- พระพุทธบารมีโลกาธิบดีดำรง (พระเจ้าใหญ่) เป็นพระพุทธรูปปางขอฝนภายในบรรจุพระบรม สารีริกธาตุ องค์พระรวมฐานสูง ๓๐ เมตร ประดิษฐานอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย บ้านพันดอน ตำบลพันดอน อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี

 


- พระมหาธาตุเทพจินดาหรือพระธาตุบ้านเดียม สร้างขึ้นในยุคใดไม่ปรากฏหลักฐาน ตั้งอยู่ในวัดบ้านเดียม ตำบลเชียงแหว อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี

 
- พระธาตุจอมศรี หรือ พระธาตุแชแล ก่อสร้างเมื่อไรไม่ปรากฏหลักฐาน ตั้งอยู่ในวัดพระธาตุจอมศรี บ้านแชแล ตำบลแชแล อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี
 

 

 

- สวนธรรมชาติ (สวนลิง) ตั้งอยู่บ้านดงเมือง ตำบลกุมภวาปี อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี มีลิงอาศัยอยู่ประมาณ 300-400 ตัว เป็นแหล่งพักผ่อนและท่องเที่ยวในเขตชุมชนเทศบาลตำบลกุมภวาปี
 

ขอเชิญนักท่องเที่ยวได้มาเที่ยวชมความงดงามของทะเลบัวแดง หนองหานกุมภวาปี ได้ตั้งแต่วันที่ ๑ เดือนธันวาคม จนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี และที่ไม่ควรพลาด คือ เทศกาลทะเลบัวแดงบาน หนองหานกุมภวาปี ประจำปี ๒๕๕๕ ในวันที่ ๑๓-๑๕ มกราคม ๒๕๕๕ ณ วัดบ้านเดียม ตำบลเชียงแหว อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี “ไผว่าบึงหนองหานฮ้าง ให้จูงแขนเพิ่นมาเบิ่ง แนเด้อ ธรรมชาติงามล้นขอบฟ้า ฟังได้บ่ทอเห็น....พี่น้องเอ้ย” -๖- ขอทราบรายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติมได้ ดังนี้ - ที่ทำการปกครองอำเภอกุมภวาปี โทรศัพท์ ๐-๔๒๓๓-๔๔๔๖ - สำนักงานเทศบาลตำบลเชียงแหว โทรศัพท์ ๐-๔๒๒๓-๖๐๒๒ - นายรักเกียรติ ศรีลาวงศ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเดียม โทรศัพท์ ๐๘-๔๗๙๘-๙๐๑๖ - นางขันแก้ว แสนนางชน ประธานกลุ่มโฮมสเตย์บ้านเดียม โทรศัพท์ ๐๘-๖๒๒๒-๒๔๘๖ - นางพวงทอง อุดชาชน ประธานกลุ่มโฮมสเตย์บ้านเชียงแหว โทรศัพท์ ๐๘-๕๔๕๘-๑๐๗๕ , ๐-๔๒๑๔-๓๐๗๐ -สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานอุดรธานี โทรศัพท์ ๐-๔๒๓๒-๕๔๐๖-๗, ๐-๔๒๓๒-๖๔๓๖ -นายไพสิทธิ์ สุขรมย์ ประธานสภาผู้ประสานงานกลุ่มเรือบริการท่องเที่ยว โทรศัพท์ ๐๘๙-๓๙๐๐๘๗๑

 

จุดเริ่มต้นงานปี 2554

 กำหนดการจัดงานเทศกาลทะเลบัวแดงบาน
หนองหานกุมภวาปี ประจำปี ๒๕๕๕
วันที่ ๑๓-๑๕ มกราคม ๒๕๕๕
ณ วัดบ้านเดียม หมู่ที่ ๕ ตำบลเชียงแหว อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี
*****************************
วันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๕
เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๐.๐๐ น. - พิธีเปิดงาน
เวลา ๑๐.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. - การแสดงของนักเรียนบนเวทีกลาง
- การแข่งขันเซปักตะกร้อ (วันที่ ๑)
- การแข่งขันเต้นแอโรบิก
- การประกวดวาดภาพและภาพถ่ายทะเลบัวแดง
- การประกวดเสื่อกกและผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา
เวลา ๑๘.๐๐ – ๒๔.๐๐ น - การจัดพาแลงสมานฉันท์
- การแสดงดนตรีโปงลาง (โรงเรียนห้วยเกิ้งพิทยาคาร)
- การประกวดธิดาบัวแดง

วันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๕
เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๗.๐๐ - การแสดงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนกุมภวาปี
- การแสดงของนักเรียนบนเวทีกลาง
- การแข่งขันตำไหลบัว(ทีมแม่บ้าน)
- การแข่งขันเกมฮาเฮ ๓ รายการ
- การแข่งขันเซปักตะกร้อ (วันที่ ๒)
เวลา ๑๘.๐๐ – ๒๔.๐๐ น. - การแข่งขันชกมวยไทย
- การประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง ชาย หญิง
- การแสดงของกลุ่มผู้มีความสามารถพิเศษ
วันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๕
เวลา ๐๙.๐๐ -๑๗.๐๐ น. - การประกวดวงดนตรีโปงลางของนักเรียน
- การแข่งขันเซปักตะกร้อ (ชิงชนะเลิศ)
- การแข่งขันกีฬาพื้นบ้านของกลุ่มแม่บ้าน
- ปิดงาน

*************************************

หมายเหตุ - เชิญสักการะพระธาตุบ้านเดียมเพื่อความเป็นสิริมงคล
- มีบริการล่องเรือชมทะเลบัวแดงและธรรมชาติของหนองหาน
(๑ ธันวาคม ๒๕๕๔-๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ช่วงเวลา ๐๖.๐๐-๑๑.๐๐ น. ทุกวัน)
- จำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นบ้านของฝากและของที่ระลึกงานทะเลบัวแดง


เว็บไซด์นี้ทำขึ้นเพื่อรวบรวมข้อมูลทุกอย่างในจังหวัดอุดรธานีซึ่งเป็นข้อมูลเพื่อสาธารณประโยชน์เป็นที่ตั้ง
โดย:คนรักอุดร....ทุกคน ติดต่อ/ประชาสัมพันธ์/สนับสนุนเว็บไซด์ได้ที่:udonlove@hotmail.com**ธ.ไทยพาณิชย์ 859-211935-5 ออมทรัพย์